อายุความคืออะไร ทำไมต้องมีอายุความ

อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดขึ้น มีผลกระทบกับสิทะิในการดำเนินคดีทางกฎหมายไม่ว่าในทางแพ่งหรือทางอาญา ในทางแพ่งจะแบ่งอายุความออกเป็น 2 ประเภท คือ ในทางอาญา โดยหลักแล้วอายุความในทางอาญามีอยู่ 2 ประเภท คือ ทำไมต้องมีอายุความ ในทางแพ่ง กรณีอายุความเสียสิทธิมีเหตุผลว่า กรณีอายุความได้สิทธิ ในทางอาญา กำหนดเรื่องอายุความด้วยเหตุผลดังนี้ ปรึกษาปัญหากฎหมายเพิ่มเติม ทนายหยิน โทร. 065-531-2515 อ้างอิง -อายุความครบวงจร โดย สรารักษ์ สุวรรณเสรีและอาคม ศรียาภัย (ผู้พิษากษา)

คดีแพ่ง คดีอาญา แตกต่างกันอย่างไร

เมื่อเกิดคดีความขึ้น หลายคดีก็สร้างความสับสนในการจำแนกว่ามันคือคดีประเภทไหนกันแน่ เราลองมาดูความหมายของกฎหมายที่กล่าวมากันครับ กฎหมายแพ่ง (Civil Law) เป็นกฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ของบุคคลในฐานะเอกชนทั่วไป ซึ่งจะครอบคลุมสถานะ (บุคคล ครอบครัว) ทรัพย์สิน (ทรัพย์สิน มรดก) และหนี้ (บ่อเกิดแห่งหนี้และผลแห่งหนี้) กฎหมายพาณิชย์ (Commercial Law) เป็นกฎหมายเอกชนที่ใช้บังคับกับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าเป็นปกติธุระ และครอบคลุมตั้งแต่การตั้งองค์กรธุรกิจ (ห้างหุ้นส่วน บริษัท) การจัดหาทุน การทำนิติกรรมทางพาณิชย์ เช่น ซื้อขาย เช่าทรัพย์ รวมทั้งกิจการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การธนาคาร การค้าหลักทรัพย์ เป็นต้น กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่กำหนดว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญาแล้วต้องรับโทษ ความผิดอาญาแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ความผิดอาญาโดยตัวเอง ซึ่งเป็นความผิดอาญาที่มีพื้นฐานทางศีลธรรมรองรับ เช่นความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ความผิดฐานลักทรัพย์ ความผิดฐานข่มขืน กับความผิดอาญาโดยผลของกฎหมาย เช่นความผิดเกี่ยวกับการปกครอง ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม เป็นต้น นอกจากนั้น กฎหมายอาญามิได้จำกัดอยู่เพียงกฎหมายอาญาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกฏหมายอื่น ที่อาจจะอยู่ในรูปของพระราชบัญญัติที่กำหนดความผิดและโทษอาญาด้วย เมื่อมีความขัดแย้งมีคดีเกิดขึ้น ก็ต้องดูว่าคดีที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับกฎหมายใด ถ้าเกี่ยวข้องกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์…

วิชาชีพด้านกฎหมาย

กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครองบ้านเมืองเพื่อความอยู่รอดของสังคม ฉะนั้นจะต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมายที่รู้ และสามารถใช้กฎหมายอันเป็นบริการที่จำเป็นแก่สังคม ซึ่งประกอบไปด้วย การประกอบวิชาชีพกฎหมายถือเป็นส่วนหนึ่งในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน จึงต้องมีองค์การกลุ่มราชการคือเนติบัณฑิตสภาควบคุมมิให้แสวงหาประโยชน์เกินขอบเขต ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายโดยรับราชการยังต้องอยู่ในความควบคุมเพิ่มขึ้นด้านวินัยข้าราชการ ส่วนเอกชนคือทนายความได้แยกตนเป็นเอกเทศอยู่ในความควบคุมของสภาทนายความ  ปรึกษาปัญหากฎหมายเพิ่มเติม ทนายหยิน โทร. 065-531-2515

รู้จักประเภทที่ดิน ก่อนซื้อที่ดิน

ที่ดินเป็นทรัพย์สินอย่างแรกๆที่ทุกคนต้องการมีไว้ครอบครองเป็นของตัวเอง เพื่อสร้างบ้าน เป็นที่ทำมาหากิน การจะซื้อที่ดินเปล่าซักแปลง เราจะต้องรู้และตรวจสอบก่อนว่าที่ดินที่เราจะซื้อขายกันเป็นที่ดินประเภทไหน ซื้อขายกันได้หรือเปล่่า  มารู้จักประเภทของที่ดินในประเทศไทยกันครับ ประเภทที่ดินในประเทศไทย 1.ที่ดินของเอกชน ที่ดินที่เราจะซื้อขายกันส่วนใหญ่เป็นที่ดินของเอกชน ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ 1.1 ที่ดินที่เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน คือจะต้องมีเอกสารหนึ่งในสี่อย่างดังนี้คือ โฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว และโฉนดที่ดิน (น.ส. 4 *) 1.2 ที่ดินที่เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือที่เรียกว่าที่ดินมือเปล่า ซึ่งอาจจะมีหนังสือสำคัญในที่ดินบางชนิด เช่น ส.ค.1 , น.ส. 3 ,น.ส. 3ก ฯลฯ ซึ่งแจ้งการครอบครอง รับรองการทำประโยชน์ หรืออาจจะไม่มีหนังสือสำคัญในที่ดินชนิดใดเลยก็ได้ *การมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน นั้้นหมายถึงเรามีสิทธิสูงสุดในที่ดิน โดยที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ กรรมสิทธิ์เป็นอำนาจอันสมบูรณ์สูงสุด ที่บุคคลจะพึงมีเหนือทรัพย์สินแล้ว ฉะนั้นเราควรเลือกซื้อที่ดินประเภทนี้ก่อนเลย ส่วนที่ดินมือเปล่าบางประเภทเช่น ที่ดินที่มี ส.ค.1 , น.ส. 3 ,น.ส. 3ก, น.ส. 3ข  แม้ผู้ครอบครองจะไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินก็ตาม แต่ผู้ครอบครองก็อยู่ในฐานะเป็น “เจ้าของที่ดิน” ได้…

5 ข้อควรรู้ ข้อควรทำ ในการซื้อที่ดิน

ในการซื้อที่ดินเปล่าสักแปลง หากไม่ใช่ที่ดินจัดสรรแล้ว มีข้อควรรู้ ข้อควรทำ ก่อนจะซื้อหลายข้อ เพื่อที่เราจะได้ที่ดินดีๆ โดยไม่มีปัญหาหรือเรื่องปวดหัวตามมาทีหลังดังนี้ 1. หากเจอที่ดินเปล่า ขอให้เราเก็บพิกัด GPS  ไว้  เพื่อที่จะได้นำมาดูใน Google Map และ Google Earth ภาพมุมสูงจะช่วยให้เราเห็นทำเล สภาพแวดล้อมของที่ดิน ว่าน่าซื้อหรือไม่ ยิ่งถ้ารู้เลขที่โฉนดสามารถเข้าไปดูแปลงที่ดินได้ที่ http://dolwms.dol.go.th/tvwebp/ 2. การไปดูที่ดินด้วยตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อดูทางเข้าออกที่ดิน ที่ดินติดกับอะไรบ้าง เป็นบึงหรือถมแล้ว มีคนอาศัยอยู่ในที่ดินหรือไม่ 3.เมื่อเราถูกใจในที่ดินแปลงไหนแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุด ถือเป็นหัวใจของการซื้อที่ดินเลยก็ว่าได้ คือการไปขอสำเนาโฉนดที่ดินที่สำนักงานที่ดิน เอกสารเกี่ยวกับที่ดิน ถือเป็นเอกสารมหาชนที่เผยแพร่กับบุคคลทั่วไป ใครจะไปขอก็ได้ ซึ่งเอกสารที่เราได้จากสำนักงานที่ดินนี้ บอกสภาวะในปัจจุบันของที่ดินได้หลายๆอย่างเช่น โฉนดที่คนขายนำมาให้ดูนั้นเป็นโฉนดปลอมหรือไม่ เพราะมีโอกาสที่คนจะนำโฉนดปลอมมาหลอกขาย หลอกจำนอง ตรวจดูข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเจ้าของที่ดิน ว่าเจ้าของที่แท้จริงคือใคร มีกี่คน คนที่เราติดต่อด้วยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือไม่ โฉนดหรือรายการจดทะเบียนถูกยกเลิกเพิกถอนหรือไม่ ที่ดินนั้นถูกยึดหรืออายัดหรือไม่ ที่ดินนั้นมีเรื่องราวอยู่ในระหว่างดำเนินการใดบ้าง ตรวจดูข้อความในโฉนดถึงการรอนสิทธิที่ยังมีผลผูกพันที่ดินอยู่ เช่น จำนอง เช่า บุริมสิทธิ์ ภาระจำยอม ขายฝาก สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน *ถ้าเรามีข้อสงสัย ถามเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดินได้ครับ มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษาอยู่* 4.ก่อนตกลงซื้อขายที่ดิน ควรจะรังวัด สอบเขตที่ดินก่อน ว่ามีพื้นที่ตรงตามโฉนดหรือไม่ ในบางกรณี อาจจะมีการลุกล้ำจากที่ดินข้างเคียง…

การแจ้งความ การร้องทุกข์ ความหมายของคำร้องทุกข์

“คำร้องทุกข์” ในทางกฎหมาย หมายถึง การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามีผู้กระทำผิดขึ้น ทำให้เกิดความเสียหาย จะรู้ตัวคนกระทำผิดหรือไม่ก็ได้ และผู้เสียหายได้แจ้งความโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษตามกฎหมาย ในการแจ้งความเพื่อให้เป็นคำร้องทุกข์ที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ผู้เสียหายควรเตรียมข้อมูลต่างๆไปดังนี้ ชื่อและที่อยู่ผู้ร้องทุกข์ ในกรณีที่ผู้เสียหายเป็นนิติบุคคล ควรแจ้งให้เจ้าพนักงานทราบ และเตรียมเอกสาร หลักฐานการมอบอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย ลักษณะแห่งความผิด พฤติการณ์ที่ผู้กระทำความผิดนั้นได้กระทำต่อผู้เสียหาย โดยในการแจ้งความผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องรู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่ควรให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ตามที่ทราบให้มากที่สุด ความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากผู้กระทำผิด อาจจะเป็นความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ชื่อเสียง หรือเสรีภาพ โดยสิ่งสำคัญในคำร้องทุกข์จะต้องมีข้อความที่ระบุว่า ผู้เสียหายมีความประสงค์ที่จะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษทางอาญา การแจ้งความนี้จึงจะเป็นคำร้องทุกข์ที่สมบูรณ์ ไม่ใช่แค่การแจ้งความไว้เพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น การแจ้งความที่เป็นคำร้องทุกข์ที่สมบูรณ์มีความสำคัญ เพราะในคดีความผิดต่อส่วนตัว เช่น ยักยอก ฉ้อโกง บุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ ฯลฯ มีอายุความ 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด หากเราไม่แจ้งความหรือแจ้งความไม่ถูกต้อง เมื่อพ้น 3 เดือนก็เท่ากับว่าขาดอายุความ เราไม่สามารถดำเนินคดีอาญากับคนกระทำผิดได้ อาจเหลือแต่ฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งเท่านั้น ดังนั้นในคดีความผิดต่อตัว หากผู้เสียหายไม่สามารถตกลงกับผู้กระทำความผิดได้ ควรไปแจ้งความเป็นคำร้องทุกข์ที่สมบูรณ์ เพื่อไม่ให้หมดอายุความที่จะดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำความผิด หากตกลงกันได้ภายหลัง จึงค่อยไปถอนแจ้งความคำร้องทุกข์ได้ ปรึกษาปัญหากฎหมายเพิ่มเติม ทนายหยิน โทร.…

การยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดกด้วยตนเอง

ในการจัดการทรัพย์สินของคนที่เสียชีวิตไปแล้ว หากมีทายาทหลายๆคน คงไม่พ้นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อจัดการแบ่งทรัพย์สินนั้นให้ทายาททุกคนอย่างเป็นธรรม ตามความเข้าใจของหลายๆคนการตั้งผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องยุ่งยาก ต้องจ้างทนายเท่านั้น ซึ่งในกรณีที่มีทรัพย์สินมากๆก็คุ้มค่า แต่ถ้าทรัพย์สินน้อยล่ะ ศาลยุติธรรมและอัยการ คงมองเห็นในจุดนี้ จึงเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกด้วยตัวเองได้ ที่ภูมิลำเนาของผู้ตาย  โดยพนักงานอัยการจะทำหน้าที่แทนทนายให้ แต่ในกรณีนี้ ทายาททุกคนจะต้องเห็นพ้องกันในการตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกนะครับ  เอกสารที่ต้องนำมายื่นในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกด้วยตัวเอง สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตายและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกจำนวน 3 ชุด  สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการของผู้ร้องขอจำนวน 3 ชุด  สำเนาใบมรณะบัตรของผู้ตายจำนวน 3 ชุด สำเนาใบมรณะบัตรของบิดามารดา กรณีบิดามารดาของผู้ตาย(เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตายก่อนแล้ว ถ้าหาไม่ได้ ให้ขอหนังสือรับรองการตายจากนายทะเบียนท้องถิ่นจำนวน 3 ชุด สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ตายจำนวน 3 ชุด สำเนาทะเบียนสมรสพร้อมด้วยทะเบียนหย่าของผู้ตาย กรณีมีการหย่าจำนวน 3 ชุด สำเนาใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ของทายาท จำนวน 3 ชุด สำเนาสูติบัตรของบุตรผู้ตาย กรณีบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือไม่สามารถให้ความยินยอมได้จำนวน 3 ชุด สำเนาพินัยกรรมของผู้ตาย(ถ้ามี)จำนวน 3 ชุด หนังสือให้ความยินยอมในการร้องขอจัดการมรดก บัญชีเครือญาติ เอกสารที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย เช่น โฉนดที่ดิน ทะเบียนรถจักรยานยนต์…

หลักในการแบ่งมรดก

หลักในการแบ่งมรดกแบ่งเป็น 2 กรณี คือ เจ้ามรดกทำพินัยกรรมไว้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ ก็ต้องแบ่งมรดกตามพินัยกรรม เจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ก็ต้องแบ่งมรดกตามกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วต้องยื่นศาลเพื่อแต่งตั้งผู้จัดการมรดก เพื่อจัดการแบ่งมรดกให้ทายาท โดยมีหลักการแบ่งตามบทความจากเวบ posttoday ซึ่งอธิบายไว้ละเอียดและเข้าใจง่าย คลิ๊กที่รูป หรือที่ลิ้งค์ตามไปอ่า่นได้เลยครับ หากเราจากไป….ไม่มีพินัยกรรม ใคร คือ ผู้รับมรดก อย่างไรก็ดี แม้เจ้ามรดกจะไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่อาจเคยสั่งเสียไว้ว่าต้องการจัดการมรดกอย่างไร หากทายาททุกคนสามารถตกลงกันได้ และสามารถทำตามได้ก็เป็นเรื่องที่ดี นั่นคือการแบ่งทรัพย์มรดกไม่จำเป็นต้องทำตามกฎหมายก็ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากทายาทที่มีสิทธิในมรดกทุกคน ซึ่งในกรณีเช่นนี้ก็ขอแนะนำให้ทำบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรให้ทายาททุกคนได้เซ็นรับทราบร่วมกันไว้ ปรึกษาปัญหากฎหมายเพิ่มเติม ทนายหยิน โทร. 065-531-2515

ข้อกฎหมายครอบครัว มรดก ที่น่ารู้

คดีเกี่ยวกับครอบครัว มรดก มีหลากหลาย ในส่วนของครอบครัวนั้น มีในเรื่องการหมั้น การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและบุตร ในเรื่องมรดก มีเรื่องพินัยกรรม การเป็นทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้รับพินัยกรรม การเสียสิทธิในมรดก การจัดการและการแบ่งมรดก ตลอดจนถึงอายุความในมรดก ความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน มีผลกระทบระยะยาวต่อชีวิตของทุกคน จึงควรดำเนินการด้วยความละเอียดรอบคอบ เบื้องต้นทาง สนง.แนะนำให้หันหน้ามาคุยกันเป็นอันดับแรก โดยเน้นการไกล่เกลี่ย เมื่อการเจรจาไม่เป็นผล ค่อยพึ่งบารมีศาลในการหาทางออก เพื่อประโยชน์ในการคุยกันแอดมินขอแนะนำข้อกฎหมายครอบครัวเบื้องต้นดังนี้ การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว การหมั้นที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่งเป็นโมฆะ การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น การหมั้นไม่เป็นเหตุฟ้องร้องบังคับให้สมรส เพราะอย่างไรก็ดีการสมรสจะต้องได้รับความสมัครใจจากชายและหญิง เมื่อมีการหมั้นกันแล้ว ฝ่ายที่ไม่ยินยอมสมรสนั้นเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น จะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้อีกฝ่ายหนึ่ง และอาจต้องมีการคืนสินสอดและของหมั้นด้วย ชายและหญิงจะทำการสมรสกันได้ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว ยกเว้นว่าศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้หากมีเหตุอันสมควร ชายหรือหญิงที่มีคู่สมรสอยู่แล้วจะทำการสมรสซ้อนอีกไม่ได้ การที่ชายหญิงแม้จะอยู่กินเป็นสามีภรรยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส เป็นเหตุให้ไม่มีสิทธิในฐานะที่เป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายต่อกันก็ตาม แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ชายหญิงจะทำมาหาได้ด้วยกันนั้น ทั้งชายและหญิงมีกรรมสิทธิร่วมกัน เมื่อจะเลิกร้างกันจะต้องแบ่งกันคนละครี่ง การสมรสไม่ทำให้สัญชาติของสามีภริยาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัวย่อมเป็นสินสมรส สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน 1) ที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีอยู่ก่อนสมรส 2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัวเครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ 3) ที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา 4)…