หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิบัตร

สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง เช่นเดียวกับลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า สิทธิที่สำคัญของผู้ทรงสิทธิบัตร คือสิทธิเด็ดขาดในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรนั้นแต่เพียงผู้เดียว สิทธิเด็ดขาดดังกล่าวเป็นสิทธิที่มีอยู่ชั่วระยะเวลาอันจำกัด กล่าวคือ สิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุแห่งการคุ้มครอง 15 ปี นับแต่วันที่ยื่นคำขอรับสิทธิบัตร ส่วนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์มีอายุแห่งการคุ้มครอง 7 ปี นับแต่วันยื่นคำขอรับสิทธิบัตร สิทธิบัตรจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ยื่นขอสิทธิบัตรได้ผ่านการพิจารณาและอนุมัติจาก กรมทะเบียนการค้าแล้วเท่านั้น การประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ จะต้องประกอบด้วยลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ ในกรณีของการประดิษฐ์ จะต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และสามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม และในกรณีของการออกแบบผลิตภัณฑ์ จะต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรม บุคคลที่มีสิทธิขอรับสิทธิบัตร ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ 1.ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบ หรือทายาทของบุคคลดังกล่าว 2. นายจ้าง หรือผู้ว่าจ้าง หน่วยราชการ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ 3. ผู้รับโอนสิทธิขอรับสิทธิบัตรจากบุคคลอื่น ปรึกษาปัญหากฎหมายเพิ่มเติม ทนายหยิน โทร. 065-531-251

ิ การดำเนินคดีเกี่ยวอุบัติเหตุจราจร รถชน

ในคดีอุบัติเหตุทางจราจร เช่น รถชน ถือว่าภาครัฐเป็นผู้เสียหาย จึงเป็นคดีอาญาต่อผู้กระทำ เนื่องจากเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโดยส่วนรวม และยังเป็นคดีเกี่ยวข้องทางแพ่งเกี่ยวข้องกับคดีอาญา ซึ่งผู้กระทำละเมิดต้องรับผิดในการกระทำของตนเอง รวมไปถึงความรับผิดของนายจ้างด้วย และยังเกี่ยวข้องกับความรับผิดของบริษัทประกันภัย คดีอุบัติเหตุจราจรในประเทศไทยมีกฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องดังนี้ คดีจราจรที่่ขับขี่ฝ่าฝืนกฎจราจรหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับรถ โดยไม่มีความเสียหายใดๆ เกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน คดีประเภทนี้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เจ้าพนักงานสามารถออกใบสั่งและผู้ต้องหาสามารถชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับ คดีอาญาถือว่ายุติ หากผู้ต้องหาไม่ชำระค่าปรับ พนักงานสวบสวนต้องทำสำนวนเสนอพนักงานอัยการ เพื่อทำการฟ้องคดีอาญาต่อศาลต่อไป 2. คดีจราจรที่ขับขี่ฝ่าฝืนกฎจราจรและมีความเสียหายเกิดขึ้นต่อทรัพย์สิน แต่ไม่มีความเสียหายต่อชีวิตและร่างกาย คดีประเภทนี้เป็นความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง 2.1 ความผิดทางอาญา เมื่อผู้ขับขี่ฝ่าฝืนกฎจราจรหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับรถ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 หากผู้ต้องหายอมรัีบผิด เจ้าพนักงานสามารถทำการเปรียบเทียบปรับได้ และผู้ต้องหาสามารถชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับ คดีอาญาถือว่ายุติ หากผู้ต้องหาไม่ยินยอมหรือยินยอมแต่ไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลา พนักงานสวบสวนต้องส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนเสนอพนักงานอัยการ เพื่อทำการฟ้องคดีอาญาต่อศาลต่อไป 2.2 ความผิดทางแพ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอิ่นโดยผิดกฎหมาย ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” 3. คดีจราจรที่ขับขี่ฝ่าฝืนกฎจราจรและมีความเสียหายเกิดขึ้นต่อทรัพย์สิน ต่อชีวิตและร่างกาย เป็นความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง 3.1 ควาามผิดทางอาญา นอกจากผู้ขับขี่จะกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.…

ความผิดฐานบุกรุก บ้านให้เช่า ที่ดินให้เช่า

มีกรณีที่เจ้าของบ้านเช่าปิดกั้นล็อคประตู หรือเข้าไปขับไล่ผู้เช่าให้ออกจากที่ให้เช่าเนื่องจากไม่จ่ายค่าเช่า ผู้ให้เช่าอาจจะโดนข้อหาบุกรุกได้ แม้ว่าผู้ให้เช่าจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าก็ตาม โดยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 “ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเจ้าของ โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” อุทาหรณ์ ฎ. 1/2512 จำเลยเป็นเจ้าของห้องแถว โจทก์เช่าห้องแถวหลังนั้นของจำเลยอยู่อาศัย ต่อมาจำเลยไม่ต้องการให้โจทก์เช่าต่อไป จึงขับไล่โจทก์ออกจากห้องแถว โจทก์ก็ไม่ยอมออก ขณะที่โจทก์ออกไปธุระข้างนอก จำเลยได้ปิดประตูและใช้ไม้กระดานตีขวางทับประตูห้องแถวที่โจทก์ครอบครองอยู่ โจทก์จึงเข้าไม่ได้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้ห้องพิพาทจะเป็นห้องพักของจำเลย แต่เมื่อโจทก์ผู้เช่ายังครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าจำเลยเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองของโจทก์โดยปกติสุข จำเลยก็มีความผิดตามมาตรา 362 ได้ การที่จำเลยใช้ไม้กระดานตีขวางทับประตูห้องพิพาทที่โจทก์ครอบครองขณะที่โจทก์ไม่อยู่ และปิดห้องไว้ ทำให้โจทก์เข้าห้องไม่ได้ ถือได้ว่าเข้าไปกระทำการรบกวนการครองครองของโจทก์โดยปกติสุขตามมาตรา 362 แต่การที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะมีความผิดตามมาตรา 362 ได้ ผู้ครอบครองจะต้องมีสิทธิที่จะครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ ถ้าผู้ครอบครองไม่มีสิทธิครอบครองต่อไปแล้ว การที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์เข้าไปกระทำการใดๆในอสังหาริมทรัพย์นั้น ก็ไม่ถือว่าเป็นการรบกวนการครอบครอง เพราะผู้ครอบครองหมดสิทธิครอบครองเสียแล้ว ในกรณีที่สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ ยิยยอมให้ผู้เช่าเข้าไปกระทำการใดๆ ในอสังหาริมทรัพย์ที่เช่าได้ ถ้าผู้เช่าทำผิดสัญญา แม้จะเป็นการรบกวนการครอบครองของผู้เช่า ก็ถือว่าผู้ให้เช่ามิได้มีเจตนากระทำผิดอาญา…

ละเมิด มีความหมายอย่างไร

ปพพ. มาตรา 420 อันเป็นแม่บทลักษณะละเมิด บัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหาย ถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น“ อธิบายได้ว่า บุคคลทุกชนิด ไม่ว่าบุุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วหรือผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต ต้องรับผิดในผลที่ตัวเองทำละเมิด ไม่ว่าโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ซึ่งจะแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณีคือ 1.จงใจ หมายถึง รู้ถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตน แม้ผลเสียหายที่เกิดขึ้นจะมากหรือน้อยกว่าที่คิดไว้ก็ถือว่าจงใจ ส่วนการกระทำโดยผิดหลงหรือพลั้งพลาดหรือการเข้าใจโดยสุจริต คือ การเข้าใจผิดในข้อเท็จจริง จึงไม่เป็นจงใจ อุทาหรณ์ ก. ชกต่อบ ข. โดยคิดจะให้ ข. เพียงปากแตกโลหิตไหล บังเอิญ ข. ล้มลงศรีษะฟาดกับพื้นถนนศรีษะแตกสลบไป ดังนี้เป็นการที่ ก. ทำร้ายร่างกาย ข. โดยจงใจ 2.ประมาทเลินเล่อ หมายถึง ไม่จงใจ แต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะใช้ อุทาหรณ์ ฎ.608/2521 จำเลยครอบครองใช้ประโยชน์ท่าเรือ คนกรูกันจะลงเรือสะพานไม้ที่ทอดลงไปสู่โป๊ะหัก ทำให้โป๊ะควำ่ จึงถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ไม่ระมัดระวังดูแลให้สะพานท่าเทียบเรือ อยู่ในสภาพแข็งแรงมั่นคง…

วิธีร่างสัญญา

การร่างสัญญาสักฉบับหนึ่งควรมีหัวข้อดังต่อไปนี้ ชื่อสัญญา จะต้องชัดเจน ร่างสัญญาในเรท่องอะไร ชื่อสัญญาควรจะตรงกับเนื้อความในสัญญา สถานที่ทำสัญญา วันที่สัญญา จะต้องระบุวันเซ็นสัญญาด้วย ถ้าไม่มีวันที่เซ็นสัญญาจะเกิดปัญหาว่าจะนับเวลาอย่างไร ปกติจะเริ่มนับวันแรกในการนับสัญญา เช่นสัญญาเช่าระบุว่าให้เช่านับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป ชื่อของคู่สัญญา จะต้องระบุให้ชัดเจน และจะต้องมีคำนิยามไว้ด้วย ถ้าเป็นนิติบุคคล ก็ต้องใช้ชื่อนิติบุคคลเป็นหลักระบุว่าโดยตัวแทนผู้มีอำนาจคือใคร อายุ และที่อยู่ของคู่สัญญา จะได้ทราบว่าผู้ทำสัญญานั้นบรรลุนิติภาวะ การระบุที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ก็เพื่อประโยชน์ในการติดต่อกันในอนาคต เจตนาของคู่สัญญา ทรัพย์ที่เป็นต้นเหตุสัญญาคืออะไร หน้าที่ของคู่สัญญา มีหน้าที่อย่างไร ต้องระบุให้ชัดเจน และควรเขียนเรียงลำดับก่อนหลังให้ถูกต้อง การยกเลิกสัญญา จะต้องระบุให้ชัดเจนว่า จะยกเลิกในกรณีใดบ้าง จำนวนสัญญาที่ทำกันไว้ ปรึกษาปัญหากฎหมายเพิ่มเติม ทนายหยิน โทร. 065-531-2515

ค่าว่าจ้างทนายความ คิดอย่างไร

การคิดค่าทนายความไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เท่าที่ปฏิบัติกันอยู่จะแบ่งเป็น คดีแพ่ง จะใช้เกณฑ์คำนวณจากทุนทรัพย์ที่ฟ้อง โดยทั่วไปก็จะอยู่ที่ร้อยละสิบของทุนทรัพย์ที่ฟ้อง เช่นฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 100,000 บาท ก็คิดค่าทนายความที่ 10,000 บาท ในบางคดีทนายความอาจเรียกค่าทนายความสูงหรือต่ำกว่ากว่านี้ ขึ้นอยู่กับ ความยากง่ายของคดี ระยะเวลาในการดำเนินคดี ชื่อเสียงของทนายความ ฐานะของตัวความ อย่างไรก็ตาม ทนายความควรเรียกค่าจ้างว่าความเหมาะสมและเป็นธรรม นอกเหนือจากค่าทนายความ คดีแพ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ได้แก่ ค่าธรรมเนียมศาล ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ค่าป่วยการต่างๆ ซึ่งควรตกลงกันให้ชัดเจนว่าคิดรวมอยู่ในค่าทนายความหรือยัง คดีอาญา การคิดค่าทนายความในการดำเนินคดีอาญานั้น ไม่สามารถคิดค่าทนายความเป็นอัตราร้อยละตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องเช่นในคดีแพ่งได้ โดยมากทนายความจึงจะพิจารณาถึงความยากง่ายในคดี ค่าใช้จ่ายในการหาข้อเท็จจริงพยานหลักฐาน โทษและอัตราโทษในคดี ฐานะของโจทก์และจำเลย ระยะเวลาในการดำเนินคดี เหล่านี้ทำให้ค่าทนายความของแต่ละท่านแตกต่างกันได้มาก ในคดีอาญาไม่มีค่าฤชาธรรมเนียมเช่นคดีแพ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์นั้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีบ้าง แต่ไม่มากเท่าคดีแพ่ง ค่าใช้จ่ายที่มี เช่น ค่าทำหมายนัดและสำเนาคำฟ้อง ค่าพาหนะและค่าป่วยการพยาน ค่าธรรมเนียมผู้ชำนายการพิเศษ ฯ ซึ่งต้องตกลงกันให้ชัดเจนแต่ต้นว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะรวมอยู่ในค่าทนายความหรือไม่ แต่โดยมากมักจะไม่รวมไว้ ปรึกษาปัญหากฎหมายเพิ่มเติม ทนายหยิน โทร. 065-531-2515

อายุความคืออะไร ทำไมต้องมีอายุความ

อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดขึ้น มีผลกระทบกับสิทะิในการดำเนินคดีทางกฎหมายไม่ว่าในทางแพ่งหรือทางอาญา ในทางแพ่งจะแบ่งอายุความออกเป็น 2 ประเภท คือ ในทางอาญา โดยหลักแล้วอายุความในทางอาญามีอยู่ 2 ประเภท คือ ทำไมต้องมีอายุความ ในทางแพ่ง กรณีอายุความเสียสิทธิมีเหตุผลว่า กรณีอายุความได้สิทธิ ในทางอาญา กำหนดเรื่องอายุความด้วยเหตุผลดังนี้ ปรึกษาปัญหากฎหมายเพิ่มเติม ทนายหยิน โทร. 065-531-2515 อ้างอิง -อายุความครบวงจร โดย สรารักษ์ สุวรรณเสรีและอาคม ศรียาภัย (ผู้พิษากษา)

คดีแพ่ง คดีอาญา แตกต่างกันอย่างไร

เมื่อเกิดคดีความขึ้น หลายคดีก็สร้างความสับสนในการจำแนกว่ามันคือคดีประเภทไหนกันแน่ เราลองมาดูความหมายของกฎหมายที่กล่าวมากันครับ กฎหมายแพ่ง (Civil Law) เป็นกฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ของบุคคลในฐานะเอกชนทั่วไป ซึ่งจะครอบคลุมสถานะ (บุคคล ครอบครัว) ทรัพย์สิน (ทรัพย์สิน มรดก) และหนี้ (บ่อเกิดแห่งหนี้และผลแห่งหนี้) กฎหมายพาณิชย์ (Commercial Law) เป็นกฎหมายเอกชนที่ใช้บังคับกับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าเป็นปกติธุระ และครอบคลุมตั้งแต่การตั้งองค์กรธุรกิจ (ห้างหุ้นส่วน บริษัท) การจัดหาทุน การทำนิติกรรมทางพาณิชย์ เช่น ซื้อขาย เช่าทรัพย์ รวมทั้งกิจการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การธนาคาร การค้าหลักทรัพย์ เป็นต้น กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่กำหนดว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญาแล้วต้องรับโทษ ความผิดอาญาแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ความผิดอาญาโดยตัวเอง ซึ่งเป็นความผิดอาญาที่มีพื้นฐานทางศีลธรรมรองรับ เช่นความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ความผิดฐานลักทรัพย์ ความผิดฐานข่มขืน กับความผิดอาญาโดยผลของกฎหมาย เช่นความผิดเกี่ยวกับการปกครอง ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม เป็นต้น นอกจากนั้น กฎหมายอาญามิได้จำกัดอยู่เพียงกฎหมายอาญาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกฏหมายอื่น ที่อาจจะอยู่ในรูปของพระราชบัญญัติที่กำหนดความผิดและโทษอาญาด้วย เมื่อมีความขัดแย้งมีคดีเกิดขึ้น ก็ต้องดูว่าคดีที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับกฎหมายใด ถ้าเกี่ยวข้องกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์…

วิชาชีพด้านกฎหมาย

กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครองบ้านเมืองเพื่อความอยู่รอดของสังคม ฉะนั้นจะต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมายที่รู้ และสามารถใช้กฎหมายอันเป็นบริการที่จำเป็นแก่สังคม ซึ่งประกอบไปด้วย การประกอบวิชาชีพกฎหมายถือเป็นส่วนหนึ่งในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน จึงต้องมีองค์การกลุ่มราชการคือเนติบัณฑิตสภาควบคุมมิให้แสวงหาประโยชน์เกินขอบเขต ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายโดยรับราชการยังต้องอยู่ในความควบคุมเพิ่มขึ้นด้านวินัยข้าราชการ ส่วนเอกชนคือทนายความได้แยกตนเป็นเอกเทศอยู่ในความควบคุมของสภาทนายความ  ปรึกษาปัญหากฎหมายเพิ่มเติม ทนายหยิน โทร. 065-531-2515

รู้จักประเภทที่ดิน ก่อนซื้อที่ดิน

ที่ดินเป็นทรัพย์สินอย่างแรกๆที่ทุกคนต้องการมีไว้ครอบครองเป็นของตัวเอง เพื่อสร้างบ้าน เป็นที่ทำมาหากิน การจะซื้อที่ดินเปล่าซักแปลง เราจะต้องรู้และตรวจสอบก่อนว่าที่ดินที่เราจะซื้อขายกันเป็นที่ดินประเภทไหน ซื้อขายกันได้หรือเปล่่า  มารู้จักประเภทของที่ดินในประเทศไทยกันครับ ประเภทที่ดินในประเทศไทย 1.ที่ดินของเอกชน ที่ดินที่เราจะซื้อขายกันส่วนใหญ่เป็นที่ดินของเอกชน ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ 1.1 ที่ดินที่เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน คือจะต้องมีเอกสารหนึ่งในสี่อย่างดังนี้คือ โฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว และโฉนดที่ดิน (น.ส. 4 *) 1.2 ที่ดินที่เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือที่เรียกว่าที่ดินมือเปล่า ซึ่งอาจจะมีหนังสือสำคัญในที่ดินบางชนิด เช่น ส.ค.1 , น.ส. 3 ,น.ส. 3ก ฯลฯ ซึ่งแจ้งการครอบครอง รับรองการทำประโยชน์ หรืออาจจะไม่มีหนังสือสำคัญในที่ดินชนิดใดเลยก็ได้ *การมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน นั้้นหมายถึงเรามีสิทธิสูงสุดในที่ดิน โดยที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ กรรมสิทธิ์เป็นอำนาจอันสมบูรณ์สูงสุด ที่บุคคลจะพึงมีเหนือทรัพย์สินแล้ว ฉะนั้นเราควรเลือกซื้อที่ดินประเภทนี้ก่อนเลย ส่วนที่ดินมือเปล่าบางประเภทเช่น ที่ดินที่มี ส.ค.1 , น.ส. 3 ,น.ส. 3ก, น.ส. 3ข  แม้ผู้ครอบครองจะไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินก็ตาม แต่ผู้ครอบครองก็อยู่ในฐานะเป็น “เจ้าของที่ดิน” ได้…