การยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดกด้วยตนเอง

ในการจัดการทรัพย์สินของคนที่เสียชีวิตไปแล้ว หากมีทายาทหลายๆคน คงไม่พ้นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อจัดการแบ่งทรัพย์สินนั้นให้ทายาททุกคนอย่างเป็นธรรม ตามความเข้าใจของหลายๆคนการตั้งผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องยุ่งยาก ต้องจ้างทนายเท่านั้น ซึ่งในกรณีที่มีทรัพย์สินมากๆก็คุ้มค่า แต่ถ้าทรัพย์สินน้อยล่ะ ศาลยุติธรรมและอัยการ คงมองเห็นในจุดนี้ จึงเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกด้วยตัวเองได้ ที่ภูมิลำเนาของผู้ตาย  โดยพนักงานอัยการจะทำหน้าที่แทนทนายให้ แต่ในกรณีนี้ ทายาททุกคนจะต้องเห็นพ้องกันในการตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกนะครับ  เอกสารที่ต้องนำมายื่นในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกด้วยตัวเอง สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตายและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกจำนวน 3 ชุด  สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการของผู้ร้องขอจำนวน 3 ชุด  สำเนาใบมรณะบัตรของผู้ตายจำนวน 3 ชุด สำเนาใบมรณะบัตรของบิดามารดา กรณีบิดามารดาของผู้ตาย(เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตายก่อนแล้ว ถ้าหาไม่ได้ ให้ขอหนังสือรับรองการตายจากนายทะเบียนท้องถิ่นจำนวน 3 ชุด สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ตายจำนวน 3 ชุด สำเนาทะเบียนสมรสพร้อมด้วยทะเบียนหย่าของผู้ตาย กรณีมีการหย่าจำนวน 3 ชุด สำเนาใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ของทายาท จำนวน 3 ชุด สำเนาสูติบัตรของบุตรผู้ตาย กรณีบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือไม่สามารถให้ความยินยอมได้จำนวน 3 ชุด สำเนาพินัยกรรมของผู้ตาย(ถ้ามี)จำนวน 3 ชุด หนังสือให้ความยินยอมในการร้องขอจัดการมรดก บัญชีเครือญาติ เอกสารที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย เช่น โฉนดที่ดิน ทะเบียนรถจักรยานยนต์…

หลักในการแบ่งมรดก

หลักในการแบ่งมรดกแบ่งเป็น 2 กรณี คือ เจ้ามรดกทำพินัยกรรมไว้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ ก็ต้องแบ่งมรดกตามพินัยกรรม เจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ก็ต้องแบ่งมรดกตามกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วต้องยื่นศาลเพื่อแต่งตั้งผู้จัดการมรดก เพื่อจัดการแบ่งมรดกให้ทายาท โดยมีหลักการแบ่งตามบทความจากเวบ posttoday ซึ่งอธิบายไว้ละเอียดและเข้าใจง่าย คลิ๊กที่รูป หรือที่ลิ้งค์ตามไปอ่า่นได้เลยครับ หากเราจากไป….ไม่มีพินัยกรรม ใคร คือ ผู้รับมรดก อย่างไรก็ดี แม้เจ้ามรดกจะไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่อาจเคยสั่งเสียไว้ว่าต้องการจัดการมรดกอย่างไร หากทายาททุกคนสามารถตกลงกันได้ และสามารถทำตามได้ก็เป็นเรื่องที่ดี นั่นคือการแบ่งทรัพย์มรดกไม่จำเป็นต้องทำตามกฎหมายก็ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากทายาทที่มีสิทธิในมรดกทุกคน ซึ่งในกรณีเช่นนี้ก็ขอแนะนำให้ทำบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรให้ทายาททุกคนได้เซ็นรับทราบร่วมกันไว้ ปรึกษาปัญหากฎหมายเพิ่มเติม ทนายหยิน โทร. 065-531-2515