ละเมิด มีความหมายอย่างไร

ปพพ. มาตรา 420 อันเป็นแม่บทลักษณะละเมิด บัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหาย ถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น“ อธิบายได้ว่า บุคคลทุกชนิด ไม่ว่าบุุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วหรือผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต ต้องรับผิดในผลที่ตัวเองทำละเมิด ไม่ว่าโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ซึ่งจะแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณีคือ 1.จงใจ หมายถึง รู้ถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตน แม้ผลเสียหายที่เกิดขึ้นจะมากหรือน้อยกว่าที่คิดไว้ก็ถือว่าจงใจ ส่วนการกระทำโดยผิดหลงหรือพลั้งพลาดหรือการเข้าใจโดยสุจริต คือ การเข้าใจผิดในข้อเท็จจริง จึงไม่เป็นจงใจ อุทาหรณ์ ก. ชกต่อบ ข. โดยคิดจะให้ ข. เพียงปากแตกโลหิตไหล บังเอิญ ข. ล้มลงศรีษะฟาดกับพื้นถนนศรีษะแตกสลบไป ดังนี้เป็นการที่ ก. ทำร้ายร่างกาย ข. โดยจงใจ 2.ประมาทเลินเล่อ หมายถึง ไม่จงใจ แต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะใช้ อุทาหรณ์ ฎ.608/2521 จำเลยครอบครองใช้ประโยชน์ท่าเรือ คนกรูกันจะลงเรือสะพานไม้ที่ทอดลงไปสู่โป๊ะหัก ทำให้โป๊ะควำ่ จึงถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ไม่ระมัดระวังดูแลให้สะพานท่าเทียบเรือ อยู่ในสภาพแข็งแรงมั่นคง…